วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์ไทย

                                            ประวัติพระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย 
                                                      
             พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระนามเดิม พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ น.ม.ส. ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และเป็น "พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย" ทรงเป็นต้นตระกูล"รัชนี"

              พระราชประวัติ
                 พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับเจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 ในพระบวรราชวัง เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา 5 ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2429 และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. 2436 จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ 16 ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุราโปรดเกลาฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา 2 ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2442 ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลับมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี พศ. 2544 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตรและเจริญก้าวหน้าเป็นผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวง พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดแกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2468
                พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนคร เป็น "ราชบัณฑิตยสภา"
                พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2470
                พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน

             พระนิพนธ์                  ในด้านงานพระนิพนธ์ ทรงเป็นกวีเอก ในการนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วมากมายหลายเรื่อง ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." ย่อมาจากพระนามเดิม รัชนีแจ่มจรัส มีผลงานตีพิมพ์ ได้แก่
                 1. ชีวิตชั้นๆ
                 2. เรื่องตามเสด็จอเมริกา จดหมายถึงเพื่อน
                 3. จดหมายจางวางหร่ำ
                 4. นิทานเวตาล
                 5. กนกนคร
                 6. ความนึกในฤดูหนาว
                 7. ประมวลนิทานของ น.ม.ส.
                 8. ชุดวิตและงาน น.ม.ส.
                 9. ฉันท์ สดุดี สังเวย

                   

                 พ.ศ. 2448 - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2472 - ปาฐกถา เล่ม 2 พ.ศ. 2473 - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ สักวิทยาและทวีปัญญา พ.ศ. 2434 -เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2473 - กลอนและนักกลอน พ.ศ. 2474 - คำทำนาย พ.ศ. 2477 - เครื่องฝีกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ พ.ศ. 2480 - เสภาสภา พ.ศ. 2481 - ปฤษาณาเหรันศิก พ.ศ. 2487 - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่น
พิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรพระเนตรมืด ต้องให้ หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิต(พระธิดาในกรม) จดตามคำบอก





ระบบเศรษฐกิจ


ระบบเศรษฐกิจ
ECONOMIC SYSTEM

วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ
                                ในอดีตมนุษย์ดำรงชีวิตโดยไม่ได้มีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากนัก ในชีวิตประจำวันจะเป็นการหาอาหารเพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น ต่อมาประชากรมากขึ้น ทำให้เกิดการแย่งทรัพยากร เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด จึงเกิดบุคคลหรือหน่วยงานเข้ามาจัดการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร และกลายเป็น ระบบเศรษฐกิจ (economic system)
ระบบเศรษฐกิจ Economic Systems
                          เป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ ที่มีแนวปฏิบัติคล้ายกันมาประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แนวทางที่ปฏิบัติจะเป็นเกณฑ์และนโยบายที่หน่วยเศรษฐกิจในสังคมถือปฏิบัติ

ระบบเศรษฐกิจแบบแลกเปลี่ยน
                                เป็นระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ (barter system) ซึ่งแต่ละครอบครัวผลิตได้และเหลือรับประทานแล้วนำไปแลกเปลี่ยนเอาสิ่งของที่ครอบครัวตนเองต้องการ
                                ระบบ barter system เสื่อมความนิยมเนื่องจากมีอุปสรรค และยุ่งยากหลายประการ ดังนี้
1.       การแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของอาจทำให้ไม่ได้สิ่งของที่ต้องการบางชนิด และยุ่งยากในการแบ่งสิ่งมีชีวิต
2.       เสียเวลาในการหาบุคคลที่มีสิ่งที่ต้องการและเมื่อหาพบบุคลนั้นพบเขาอาจไม่ต้องการสิ่งที่เรามี
3.       ยุ่งยากในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนว่าทำอย่างไรจึงจะพอใจทั้งสองฝ่าย

ระบบเศรษฐกิจใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
                                จากความไม่สะดวกของระบบแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ จึงมีการหาวิธีช่วยในการแลกเปลี่ยนที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก  จึงใช้สื่อกลางเพื่อเทียบมูลค่าของสินค้า เช่น  ในอดีตใช้เปลือกหอย  เงิน  ทองคำ สิ่งมีค่าอื่น ๆ ปัจจุบัน มีการใช้ธนบัตร 

ตาราง   แสดงข้อดี และข้อเสียของการใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

ข้อดี
ข้อเสีย
1.       ทุ่นเวลาในการแลกเปลี่ยน
2.       แก้ปัญหาการแบ่งแยกสิ่งมีชีวิตได้
3.       พกพาสะดวก
4.       ช่วยให้การค้าขยายกว้างขึ้น
1.       อาจมีค่าไม่คงที่
2.       อาจไม่เป็นที่ยอมรับของบุคลอื่น
3.       อาจไม่มีความคงทน
  
หน่วยเศรษฐกิจหรือบุคคลในระบบเศรษฐกิจ
                เป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ  ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ  ประกอบด้วย หน่วย คือ
1.       ครัวเรือน household  มีหน้าที่เป็นผู้บริโภค  ผู้ผลิต  หรือหรือเจ้าของการผลิต  อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด
2.       หน่วยธุรกิจ business  มีหน้าที่นำปัจจัยการผลิตมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป ประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้ขาย
3.       รัฐบาล government มีหน้าที่และสัมพันธ์กับหน่วยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ เช่น เก็บภาษีการค้า  เป็นผู้
คุ้มครองภัยอันตราย และตัดสินข้อพิพาทระหว่างสมาชิกในระบบเศรษฐกิจ  นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และผู้บริโภคด้วย
 จุดมุ่งหมายของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ
                                ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบการค้า Commercial economic activities ของบุคคลในระบบเศรษฐกิจมีดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของผู้บริโภค  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าผู้บริโภคมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ Economic rationality และมีความต้องการที่จะได้รับความพอใจสูงสุด maximum satisfaction ในการบริโภค
2. จุดมุ่งหมายของเจ้าของปัจจัยการผลิต มุ่งที่จะได้รับผลตอบแทนสุทธิสูงสุด Maximum net gain จากการขายปัจจัยการผลิตของตน
3. จุดมุ่งหมายของผู้ผลิต มีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับกำไรสูงสุด Maximum profit
4.       จุดมุ่งหมายของรัฐบาล มุ่งหวังให้สังคมส่วนรวมอยู่ดีกินดี  Well being  ได้รับสวัสดิการสูงสุด


กิจกรรมทางเศรษฐกิจ Economic activities
                          กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นการประกอบอาชีพของมนุษย์เพื่อแสวงหาสิ่งจำเป็นในการดำรง
ชีวิต  สามารถแบ่งความเป็นมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ระยะคือ
1. กิจกรรมเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเอง หรือแบบยังชีพ  Subsistence economic activities เป็นระบบเศรษฐกิจง่าย ๆ ผลิตเพื่อบริโภค ไม่ได้จำหน่าย   มีระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ Barter System
2.  กิจกรรมเศรษฐกิจแบบการค้า Commercial economic activities  เป็นสังคมที่ซับซ้อนในปัจจุบัน มีการแบ่งอาชีกันทำตามความถนัด มีการซื้อขายโดยใช้สื่อกลางในการซื้อขาย

                          นักเศรษฐศาสตร์แบ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็น ประเภท ดังนี้
1.       การผลิต  Production : การสร้างหรือเพิ่มอรรถประโยชน์ของสินค้าและบริการ
-          ปัจจัยการผลิต ได้แก่
ทรัพยากรธรรมชาติ   แรงงาน  ทุน (เงิน  เครื่องจักร เทคโนโลยีและผู้ประกอบการ

การผลิตสมัยใหม่ มีการแบ่งงานกันทำ Division of Labor

ข้อดีของการแบ่งงานกันทำ
ข้อเสียของการแบ่งงานกันทำ
บรรจุคนทำงานได้ตามความถนัด
-นำเครื่องจักรมาใช้ได้เป็นส่วน
เกิดความชำนาญ
-  ผลผลิตต่อคนมากกว่า

อาจเกิดความเบื่อหน่าย
ไม่มีโอกาสเรียนรู้งานอื่น
ไม่สามารถโยกย้ายทำงานแทนกันได้เมื่อจำเป็น


2.  การบริโภค Consumption การครอบครองสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความต้องการ
2.       การจำแนกแจกแจงหรือการวิภาครายได้ Distributions แบ่งสรรสินค้าไปสู่ผู้บริโภค หรือแบ่งสรรรายได้แก่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต




วงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และกระแสหมุนเวียน
                                                                                                ครัวเรือน
                          สินค้าและบริการ                         สินค้า                                      แรงงานที่ดิน,ทุน
                                                                                &บริการ
                                                                                                        ภาษี  
             ตลาดสินค้า                                          รัฐบาล                                   ตลาดปัจจัย                            ตลาดปัจจัยการผลิต 
                                        ค่าใช้จ่ายซื้อ                          ภาษี               ค่าจ้าง,ค่าเช่า
                                                    สินค้าบริการ      สินค้า                                   ดอกเบี้ย,กำไร
                                                                                       &บริการ
                                                                                               
                                                                                  ธุรกิจ
ธุรกิจ

ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
                ในปัจจุบันโลกมีระบบเศรษฐกิจ ระบบ คือ
1.       ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
2.       ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
3.       ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
การจำแนกประเภทของระบบเศรษฐกิจ
สามารถแบ่งระบบเศรษฐกิจจากการกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบ และการจัดสถาบัน  ในการ
ตัดสินใจปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจ ได้เป็น  ระบบ
1.       ระบบที่ไม่มีการวางแผน unplaned economy   หรือเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจธุรกิจเอกชน private
enterprise economy  เป็นระบบที่เอกชนเป็นเจ้าของ   การตัดสินใจอยู่ภายใต้กลไกราคา
2.       ระบบที่มีการวางแผนเต็มที่ planed economy    หรือเรียกว่า   ระบบสังคมนิยมบังคับ Authoritarian
socialism   เป็นระบบที่วางแผนจากส่วนกลาง Central Planning  รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และวางแผนแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
3.       ระบบกึ่งวางแผน semi – plan economy system   หรือเรียก  ระบบผสม Mixed economy   ทั้งเอกชน
และรัฐร่วมมือกันตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปปล่อยให้เอกชนดำเนินการภายใต้กลไกราคา

ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ แบ่งออกได้   ระบบ
1.        ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม     capital    Economic    System    เป็นระบบที่ปัจจัยและการลงทุน
เป็นกรรมสิทธิของเอกชน ผู้ประกอบการมีโอกาสแข่งขันในทางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน ในระบบตลาด จัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการวางแผน การตัดสินใจแก้ปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลไกราคา
2.        ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม   Socialist   Capital   Economics   System     เอกชนมีสิทธิ์ในการ
ใช้ทรัพยากรและตัดสินใจผลิต โดยที่รัฐเข้าควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อความมั่นคง และระบบสาธารณูปโภค
3.        ระบบเศรษฐกิจแบบผสม    Mixed    Economy  เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างระบบทุน
นิยมและสังคมนิยม คือใช้ระบบการแข่งขัน ระบบตลาด และกลไกราคา ขณะเดียวกันก็ใช้การวางแผนจากส่วนกลาง